ตั้งอยู่บ้านน้ำคำ ตำบลภูแล่นช้าง ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับกับเนินเขาไม่สูงนัก สภาพป่าเป็นป่าเต็งรังมีพันธุ์ไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น ไม้มะค่าโมง ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้ประดู่ ฯลฯ มีสัตว์ป่าที่พบเห็นได้ง่าย เช่น กระรอก กระแต อีเห็น กระต่ายป่า เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2539 มีนักท่องเที่ยวและครอบครัวเดินทางมาเที่ยวและพักรับประทานอาหารที่วนอุทยานภูแฝก ได้พบรอยประหลาดกลางลานหินลำห้วยเหง้าดู่ เชิงเขาภูแฝก บริเวณเทือกเขาภูพาน หลังจากนั้นได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่นักธรณีวิทยาพร้อมด้วยส่วนราชการเดินทางเข้าไปสำรวจ พบว่าเป็นรอยเท้าไดโนเสาร์ ประเภทเทอร์โรพอด 7 รอย จัดอยู่ในกลุ่มคาร์โนซอร์ชนิดกินเนื้อ อายุประมาณ 140 ล้านปี ปัจจุบันสามารถเห็นชัดเจนเพียง 4 รอย โดยรอยเท้าไดโนเสาร์นั้นถูกค้นพบบนพลาญหินที่เป็นทางน้ำ ฝังอยู่ในผิวหน้าของชั้นหินทรายของหมวดหินพระวิหาร ซึ่งตามลำดับชั้นหินตามหลักธรณีวิทยา หินชั้นนี้จะวางตัวอยู่ใต้ชั้นหินของหมวดหินเสาขัว ซึ่งเป็นชั้นหินที่พบกระดูกไดโนเสาร์มากที่สุดของประเทศไทย จากการพบรอยเท้าไดโนเสาร์ทำให้ทราบว่า ชั้นหินทรายบริเวณนี้ในอดีตมีสภาพเป็นหาดทรายริมน้ำ เป็นที่ที่ไดโนเสาร์เดินผ่านหรือมาหากิน รอยเท้าที่เกิดขึ้นไม่ได้ถูกคลื่นซัดให้ลบเลือน สันนิษฐานว่าอาจเพราะโผล่พ้นน้ำและแสงแดดเผาจนคงรูปร่างอยู่ จากนั้นกระแสน้ำได้พัดพาตะกอนมาปิดทับลงไปเป็นชั้นตะกอนใหม่ ต่อมาธรรมชาติได้ทำลายชั้นหินส่วนที่ปิดทับรอยเท้าออกไป จึงเผยให้เห็นรอยเท้าที่ไดโนเสาร์ได้ทิ้งเอาไว้ สอบถามข้อมูล โทร. 08 1862 4446, 08 1225 6565
แหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์ภูแฝก อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ อยู่ในพื้นที่ของวนอุทยานภูแฝก ภายใต้การควบคุมดูแลของหน่วยจัดการต้นน้ำลำห้วยผึ้ง-ลำพะยัง กรมป่าไม้ การเข้าถึงพื้นที่ใช้เส้นทางหลวงสาย 213 จากจังหวัดกาฬสินธุ์ ไปอำเภอสมเด็จ ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร เมื่อถึงอำเภอสมเด็จ ให้เลี้ยวขวาไปตามเส้นทางหลวงสาย 2042 ไปทางอำเภอห้วยผึ้งและกุฉินารายณ์ เมื่อถึงอำเภอห้วยผึ้งให้เลี้ยวซ้ายเข้าเส้นทางหลวงสาย 2101 ไปอีกประมาณ 8 กิโลเมตร จะมีทางเลี้ยวซ้ายเข้าหน่วยจัดการต้นน้ำลำห้วยผึ้ง-ลำพะยัง เป็นระยะทาง 4 กิโลเมตร จึงถึงแหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์ ระยะทางทั้งหมดจากจังหวัดกาฬสินธุ์
ธรณีวิทยา
แหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์มีสภาพเป็นพลาญหินที่เป็นทางน้ำของห้วยน้ำยัง รอยเท้าฝังอยู่ในผิวหน้าของชั้นหินทรายที่แกร่งของหมวดหินพระวิหาร ซึ่งตามลำดับชั้นหินจะวางตัวอยู่ใต้ชั้นหินของหมวดหินเสาขัว ซึ่งเป็นชั้นหินที่พบกระดูกไดโนเสาร์มากที่สุดของประเทศไทย การพบรอยเท้าไดโนเสาร์ทำให้เราทราบว่า ชั้นหินทรายในบริเวณนี้ในอดีต มีสภาพเป็นหาดทรายริมน้ำ เป็นที่ที่ไดโนเสาร์เดินผ่าน หรือเที่ยวหากินอยู่ในบริเวณหาดทรายชุ่มน้ำนี้ รอยเท้าที่เกิดขึ้นไม่ได้ถูกคลื่นซัดให้ลบเลือน โดยอาจโผล่พ้นน้ำ ทำให้แดดเผาจนคงรูปร่างอยู่ หลังจากนั้นกระแสน้ำได้พัดพาเอาตะกอนมาปิดทับลงไปเป็นชั้นตะกอนใหม่ รอยเท้านั้นจึงยังคงอยู่ในชั้นตะกอนเดิม ต่อมาชั้นตะกอนแข็งตัวกลายเป็นหิน รอยเท้านั้นจึงปรากฏอยู่ในชั้นหินนั้น ปัจจุบันธรรมชาติได้ทำลายชั้นหินส่วนที่ปิดทับรอยเท้าออกไป เผยให้เห็นรอยเท้าที่ไดโนเสาร์ได้ทิ้งเอาไว้เป็นประจักษ์พยานถึงการมีตัวตนในอดีต
การอนุรักษ์แหล่งรอยเท้า
แหล่งรอยเท้าของสัตว์ในอดีต เป็นสิ่งที่มีค่า เป็นสิ่งที่บอกให้เราทราบถึงรูปร่างภายนอกของสัตว์ ทำให้นักโบราณชีววิทยา สามารถสร้างภาพไดโนเสาร์เมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตได้ ซากไดโนเสาร์ส่วนใหญ่ที่พบ มักเป็นซากกระดูก การสร้างภาพจากโครงกระดูกไม่ใช่ของง่าย ภาพที่สร้างอาจผิดไปจากของจริงอย่างสิ้นเชิงก็ได้ นอกจากนี้รอยเท้ายังเป็นเครื่องชี้นำให้เราทราบถึงเรื่องราวในอดีตของโลกของเรา การเก็บรักษาไว้จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง กรมทรัพยากรธรณีได้ขอความร่วมมือจากกรมป่าไม้และกรมชลประทาน ในการก่อสร้างฝายน้ำล้นที่ต้นน้ำเหนือบริเวณรอยเท้าไดโนเสาร์แห่งนี้ เพื่อชะลอความแรงของกระแสน้ำ และเพื่อให้วนอุทยานภูแฝกได้มีแหล่งกักเก็บน้ำไว้ในฤดูแล้ง ทั้งนี้เนื่องจากกระแสน้ำที่รุนแรงในฤดูฝนได้พัดพาก้อนหินออกมาครูดถูกับรอยเท้าทำให้ลบเลือนไป อย่างไรก็ดีความแรงของกระแสน้ำซึ่งได้เปิดชั้นหินที่ปิดทับรอยเท้าออกจะทำให้พบรอยเท้าใหม่ๆ ที่ยังอาจมีหลงเหลืออยู่ ขึ้นอยู่กับว่าบริเวณรอยเท้าที่ธรรมชาติได้เก็บรักษาไว้จะมีขนาดกว้างกว่านี้หรือไม่
ปัจจุบัน ธรรมชาติได้ทำลายชั้นหินส่วนที่ปิดทับรอยเท้าออกไป เผยให้เห็นรอยเท้าที่ไดโนเสาร์ได้ทิ้งเอาไว้เป็นประจักษ์พยานถึงการมีตัวตนในอดีต เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2539 เด็กหญิงสองคนพร้อมด้วยผู้ปกครองไปกินข้าวในวันหยุด ได้พบรอยเท้าประหลาดกลางลานหินลำห้วยเหง้าดู่ เชิงเขาภูแฝก บริเวณเทือกเขาภูพาน หลังจากนั้นได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่นักธรณีวิทยาพร้อมด้วยส่วนราชการและเอกชนในจังหวัดกาฬสินธุ์เดินทางไปสำรวจ จึงพบว่าเป็นรอยเท้าไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ที่เคยเดินท่อมๆ หากินอยู่ตามพื้นทรายชุ่มน้ำตามขอบชายบึงหรือแม่น้ำ
ข้อมูลทั่วไป
วนอุทยานภูแฝก หรือแหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์ภูแฝก เป็นแหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย โดยรอยเท้าไดโนเสาร์นั้นถูกค้นพบบนพลาญหินที่เป็นทางน้ำของห้วยน้ำยัง รอยเท้าฝังอยู่ในผิวหน้าของชั้นหินทรายที่แกร่งของหมวดหินพระวิหาร ซึ่งตามลำดับชั้นหินจะวางตัวอยู่ใต้ชั้นหินของหมวดหินเสาขัว ซึ่งเป็นชั้นหินที่พบกระดูกไดโนเสาร์มากที่สุดของประเทศไทย จากการพบรอยเท้าไดโนเสาร์ทำให้ทราบว่าชั้นหินทรายในบริเวณนี้ ในอดีตมีสภาพเป็นหาดทรายริมน้ำ เป็นที่ที่ไดโนเสาร์เดินผ่าน หรือเที่ยวหากินอยู่ในบริเวณหาดทรายชุ่มน้ำนี้ รอยเท้าที่เกิดขึ้นไม่ได้ถูกคลื่นซัดให้ลบเลือน โดยอาจโผล่พ้นน้ำ ทำให้แดดเผาจนคงรูปร่างอยู่ หลังจากนั้นกระแสน้ำได้พัดพาเอาตะกอนมาปิดทับลงไปเป็นชั้นตะกอนใหม่ รอยเท้านั้นจึงยังคงอยู่ในชั้นตะกอนเดิม ต่อมาชั้นตะกอนแข็งตัวกลายเป็นหิน รอยเท้านั้นจึงปรากฏอยู่ในชั้นหินนั้น
รอยเท้าไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ที่เคยเดินท่อมๆ หากินอยู่ตามพื้นทรายชุ่มน้ำตามขอบชายบึงหรือแม่น้ำ รอยเท้าทั้งหมดเป็นรอยเท้าที่มีนิ้ว 3 นิ้ว ขนาดโดยเฉลี่ยมีความยาวประมาณ 45 เซนติเมตร กว้าง 40 เซนติเมตร ระยะก้าว 120 และ 110 เซนติเมตร จากการคำนวณช่วงก้าวและขนาดรอยเท้า เป็นไดโนเสาร์ที่เดินด้วยสองขาหลัง มีความสูงถึงสะโพกมากกว่า 2 เมตร ขนาดตัวจากหัวถึงหางยาวประมาณ 7 – 8 เมตร อายุประมาณ 140 ล้านปี อยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้น ก้าวเดินไปอย่างช้าๆ โดยพบว่ามีรอยเท้า 21 รอย แนวทางเดิน 6 แนวทาง ต่างทิศทางกัน และเป็นแนวทางเดินที่เด่นชัด 3 แนวทาง ดังนี้
แนวทางเดินที่ 1 มีรอยเท้า 7 รอย ( 4 รอยเท้าเห็นชัดเจนและอีก 3 รอยเท้าเห็นจางๆ 2-3 นิ้วเท้า ) เดินมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ (120 องศา) มีขนาดรอยเท้ายาว 45 เซนติเมตร และ 110 เซนติเมตร ลักษณะรอยเท้านี้เป็นพวกกินเนื้อขนาดใหญ่ ที่อยู่ในยุคครีเตเซียสตอนต้น จากการคำนวณช่วงก้าวและขนาดรอยเท้าพอที่จะประมาณขนาดตัวไดโนเสาร์นี้ได้ โดยมีความยาวจากหัวถึงหางประมาณ 7-8 เมตร
แนวทางเดินที่ 2 เดินมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ( 60 องศา ) มี 2 รอยจางๆ
แนวทางเดินที่ 3 เดินไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ( 35 องศา ) มี 3 รอย เห็นไม่ชัดเจน